News & Events

 

 

พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิสภาพที่ basal ganglia บริเวณ substantia nigra ทำให้มีการผลิตสารสื่อประสาทที่ชื่อ สารโดปามีนน้อยลง ส่งผลให้สมองสูญเสียการควบคุมการสั่งงานของกล้ามเนื้อ  ตัวอย่างคนดังที่ทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคนี้  เช่น ไมเคิล เจ. ฟอกซ์ และ มูฮัมหมัด อาลี

มีผู้ทำการวิจัยหลายคนเชื่อว่าสาเหตุอาจเกิดความเครียด  สารพิษในร่างกาย  พันธุกรรม  และความเสื่อมตามวัย

สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1.      Idiopathic Parkinsonism

2.      Symptomatic Parkinsonism

อาการแสดงเริ่มต้นของผู้ป่วยพาร์กินสันที่ควรสังเกตคือ

-          ลุกขึ้นยืนลำบาก

-          เดินลากเท้าหรือมีการสะดุดบ่อยในขณะเดิน

-          การเคลื่อนไหวของมือช้าลง

-          ใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานกว่าปกติ  เช่น อาบน้ำ แต่งตัว

-          แสดงอาการสั่นของมือ  โดยเฉพาะเมื่อมีความเครียด

-          การเขียนที่แย่ลง  เช่น  เขียนตัวอักษรเล็กลง

-          มีอาการเสียงแหบ

-          มีปัญหานอนไม่หลับ  หรือบางรายมีอาการฝันร้าย

-          บางรายมีอาการเวียนศีรษะ  ท้องผูก  ผิวหนังอักเสบ  การรับกลิ่นไม่ดี  แขนขาอ่อนแรง  ไม่มีแรง (ความตึงตัวกล้ามเนื้อต่ำ)

-          เหงื่อออกมาก  ปัญหาการกลั้นปัสสาวะ  บุคลิกภาพเปลี่ยนไป  คิดช้า ความจำไม่ดี  สมาธิสั้น  บางรายมีอาการซึมเศร้า

 

 

ลักษณะอาการในระยะแรกที่ชัดเจนในผู้ป่วยพาร์กินสัน  คือปัญหาด้าน motor ดังนี้

-          akinesia ( มีปัญหาในการเริ่มการเคลื่อนไหว)

-          bradykinesia ( การเคลื่อนไหวช้า)

-          muscle rigidity ( กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง)

-          resting tremor ( มีอาการสั่น)

-          abnormalities of posture, gait, and balance (มีลักษณะการเดินที่ช้าลง  ไหล่งุ้ม และล้มง่าย)

อาการอื่นๆที่พบคือ

-          การเขียนตัวอักษรเล็กลง

-          มีปัญหาด้านการพูด แบบ dysarthria

-          ขณะเดินมีการแกว่งแขนน้อยลง

-          เดินแบบก้าวสั้นๆ และโน้มตัวไปก่อนที่จะก้าวขา  ที่เรียกว่า shuffling gait

-          ไม่ค่อยกระพริบตา  มีอาการตาแห้ง

-          มีอาการเครียด  วิตกกังวล

-          มีปัญหานอนไม่หลับและมีความดันโลหิตลดลง

-          ท้องผูก

-          ผิวหนังมีปัญหา  เช่น รังแค  หรือผิวมันผิดปกติ

-          เกิดอาการความดันตกในขณะเปลี่ยนท่า  ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการล้ม

-          การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายผิดปกติ

-          สูญเสียการควบคุมระบบขับถ่าย

-          มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการรับความรู้สึก  เช่น มีอาการปวด  ชา ปวดแสบร้อน  ปวดศีรษะ  ปวดหลังโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

  

ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน

ยากลุ่ม levodopa 

1.  อาการคลื่นไส้  อาเจียน  และเบื่ออาหาร

2.  ผู้ที่กินยาเป็นเวลานานอาจพบอาการ dyskinesias (การเคลื่อนไหวที่ควบคุมไม่ได้)

3.  อาการปากแห้ง  ฝันร้าย  นอนไม่หลับ อาการวูบคล้ายเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่า

4. สับสนและเกิดภาพหลอน

ยากลุ่ม dopamine agonists

1.      อาการคลื่นไส้  อาเจียน  และเบื่ออาหาร

2.      สับสนและเกิดภาพหลอน

3.      อาการวูบคล้ายเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่า

4.      บางรายอาจพบ fibrosis

5.      บางรายมีอาการบวมของขา  หายใจตื้น

ถ้าสังเกตพบอาการแทรกซ้อนดังกล่าวควรรายงานแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษา

บทบาทนักกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

1.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินระยะของโรค (stage of the disease)

2. ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา

- musculoskeletal problem

- cardiopulmonary decondition

- psycho-social deteriorate

3. พยายามพัฒนาการเคลื่อนไหวให้มีคุณภาพ  โดยใช้วิธีการออกกำลังกายซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเคลื่อนไหว ร่างกายในชีวิต ประจำวันได้ดีขึ้น 

4. ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติตนให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล

5. ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย  ควรสอนวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อน

เทคนิคการรักษาควรประกอบด้วย

-          การยืดกล้ามเนื้อ (stretching)

-          พัฒนาการทำงานของปอดและหัวใจ เช่น การฝึก breathing exercise  , aerobic exercise

-          สอนการเดินที่มั่นคง  ถูกท่าและถูกจังหวะ

-          สอนการป้องกันการล้ม (fall prevention)  การหมุนตัวอย่างเป็นจังหวะขณะเดินหรือการหันหลังกลับ

-          สอนการผ่อนคลายเพื่อลดความเครียด

1. ประโยชน์ของการยืดกล้ามเนื้อ

-          ทำให้ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

-          ทำให้มีท่าทางที่ดีและถูกต้อง

-          สามารถป้องกันการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการหดรั้งและความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ

-          ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

-          ลดความตึงของกล้ามเนื้อ

2. การเพิ่มกำลังหรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

      ควรเน้นให้เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ตรงกับการทำกิจกรรมและสอดคล้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อ ทั้งแบบ concentric และ eccentric contraction  เช่น กล้ามเนื้อที่สำคัญ  คือ quadriceps , gluteus maximus , back extensors

3. การออกกำลังกายแบบ aerobic exercise

-          ควรออกกำลังกายแบบ aerobic อย่างน้อย 20นาที  สัปดาห์ละ 3 วัน  โดยมีช่วงอบอุ่นร่างกาย 3-5 นาทีแรก แล้วออกกำลังกายต่อเนื่องจากนั้นมีช่วงผ่อนการออกกำลังกายให้เบาลงอีก 3-5 นาที

-          การออกกำลังกายควรใส่รองเท้าเพื่อลดแรงกระแทก 

-          ความหนักในการออกกำลังกาย  อาจใช้ The Borg Rating Scale ระดับ somewhat hard หมายความว่าขณะออกกำลังกายยังสามารถพูดคุยได้  ไม่ถึงขั้นเหนื่อยหอบเกินไป

4.  การพัฒนาการเคลื่อนไหวมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

-          ความมั่นคงของร่างกาย (ท่าทางและการทรงตัว)  ควรฝึกท่านั่งที่ดีอาจใช้หมอนรองหลังบริเวณเอวเพื่อปรับให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ถูกต้อง

-          การเคลื่อนย้ายตำแหน่ง (การเดิน) กรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการทรงตัว  การให้ผู้ป่วยใช้ไม้เท้าหรือ walker ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะไม่ล้ม ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ใช้  ถ้าใช้ไม่ถูกไม่เป็นก็ล้มได้เช่นกัน  เหมือนคนขับรถไม่ดีการซื้อประกันรถยนต์ (ไม้เท้า หรือ walker )ไม่ได้ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ  ต้องขึ้นอยู่กับผู้ขับ

o      การฝึกเดิน ควรใช้การมองและการฟังเสียงช่วยในการเดินให้ถูกจังหวะ เช่นใช้ที่เคาะจังหวะให้ผู้ป่วยก้าวเท้าให้เร็วขึ้น

o      การฝึกบนลู่วิ่งให้เดินเร็ว ให้ใกล้เคียงจังหวะปกติ

o      ฝึกการหันหรือหมุนตัวเมื่อมีคนเรียกทางด้านหลังและฝึกวิธีการป้องกันการล้ม

-          การใช้มือและแขนในการทำกิจกรรม ฝึกการหยิบสิ่งของขนาดต่างๆกัน

  

การพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน

1.      รักษาตามอาการ

2.      ผ่อนคลายความเครียด

3.      ดูแลเรื่องอาหาร

4.      ออกกำลังกาย

-  stetching

- strengthening

- aerobic exercise

                                                    ที่มา    อาจารย์วิยะดา  ศักดิ์ศรี  ,   รองศาสตราจารย์ชนัตถ์  อาคมานนท์

 

 

 

โรคไข้เลือดออก คือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สถิติในปี พ.ศ. 2554 รายงานโดย กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีอัตราป่วย 107.02 และอัตราป่วยตาย 0.10 ซึ่งหมายความว่า ในประชากรทุก 100,000 คน จะมีผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 107.02 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 0.1 คน

การติดต่อ

ไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกสามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจำนวนภายในตัวของยุงลาย ยุงลายจึงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และกล่าวได้ว่าโรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน ยุงลายที่เป็นพาหะนี้มีชื่อว่า Aedes aegypti ยุงชนิดนี้ออกหากินเวลากลางวัน ยุงจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กำลังป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป ยุงชนิดนี้อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประเทศไทยจึงเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างสูง โดยพบการระบาดมากที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ คนอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15-24 ปี และ อายุ 5-9 ปี ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 0-4 ปี และมากกว่า 25 ปี จนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนน้อยที่สุด

อาการ

อาการของโรคนี้คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด กล่าวคือ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่แตกต่างกันที่ ไข้จะสูงกว่ามาก โดยอาจมีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีหน้าแดง และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อค่อนข้างมากกว่า หากทำการทดสอบโดยการรัดต้นแขนด้วยสายรัด (Touniquet test) จะพบจุดเลือดออก ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรืออาการเลือดออกผิดปกติอื่นๆ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจพบอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะลดลง อาจถึงกับช็อกและเสียชีวิตได้ โดยอาการนำของภาวะช็อกมักเริ่มจากการมีไข้ลดลง ดังนั้นหากพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลงตามด้วยอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบแจ้งแพทย์หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มักพบว่า มีอาการในระยะเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากผู้ปกครองละเลยการพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยเด็กจะเสียชีวิตเนื่องจากการรักษาที่ล่าช้าได้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสงสัยไว้ก่อนว่าบุตรหลานที่มีอาการไข้สูงในฤดูฝนอาจเป็นโรคไข้เลือดออก และควรรีบพาบุตรหลานไปรับการรักษา

การรักษา

เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ การรักษาโรคนี้จึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นสำคัญ กล่าวคือมีการใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะช็อก

ยาลดไข้ที่ใช้มีเพียงชนิดเดียว คือ ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่คือ พาราเซตามอลชนิดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (4 กรัม) ส่วนขนาดยาที่ใช้ในเด็กคือ พาราเซตามอลชนิดน้ำ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง หรือ 2.6 กรัม ยาพาราเซตามอลนี้เป็นยารับประทานตามอาการ ดังนั้น หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที

ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็กมีจำหน่ายในหลายความแรงได้แก่ 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา (1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร), 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา, และ 60 มิลลิกรัมต่อ 0.6 มิลลิลิตร ส่วนใหญ่เป็นยาน้ำเชื่อมที่ต้องรินใส่ช้อนเพื่อป้อนเด็ก ในกรณีทารก การป้อนยาทำได้ค่อนข้างยากจึงมีผลิตภัณฑ์ยาที่ทำจำหน่ายโดยบรรจุในขวดพร้อมหลอดหยด เวลาใช้ก็เพียงแต่ใช้หลอดหยดดูดยาออกจากขวดและนำไปป้อนเด็กได้เลย ด้วยเหตุที่ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็กมีหลายความแรงจึงควรอ่านฉลากและวิธีใช้ให้ดีก่อนนำไปป้อนเด็ก กล่าวคือ หากเด็กหนัก 10 กิโลกรัม และมียาน้ำความแรง 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ก็ควรป้อนยาเด็กครั้งละ 1 ช้อนชาหรือ 5 มิลลิลิตร และป้อนซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมงแต่ไม่ควรป้อนยาเกินวันละ 5 ครั้ง หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที

แอสไพรินและไอบูโปรเฟน เป็นยาลดไข้เช่นกัน แต่ยาทั้งสองชนิดนี้ห้ามนำมาใช้ในโรคไข้เลือดออก เนื่องจากยาทั้งสองชนิดนี้จะยิ่งส่งเสริมการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้

ในส่วนการป้องกันภาวะช็อกนั้น กระทำได้โดยการชดเชยน้ำให้ร่างกายเพื่อไม่ให้ปริมาตรเลือดลดต่ำลงจนทำให้ความดันโลหิตตก แพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำตามความรุนแรงของอาการ โดยอาจให้ผู้ป่วยดื่มเพียงสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอ็ส หรือผู้ป่วยบางรายอาจได้รับน้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนเกิดภาวะเสียเลือดอาจต้องได้รับเลือดเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามจะต้องเฝ้าระวังภาวะช็อกดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นเนื่องจากภาวะนี้มีความอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

การป้องกัน

แม้ว่าในปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ ดังนั้นคำตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโดยการควบคุมยุงลายให้มีจำนวนลดลงซึ่งทำได้โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและการกำจัดยุงลายทั้งลูกน้ำและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ทั้งนี้การป้องกันทำได้ 3 ลักษณะ คือ

1. การป้องกันทางกายภาพ ได้แก่

 ; ;  ปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาปิด เช่น มีผาปิดปากโอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังเก็บน้ำ หรือถ้าไม่มีฝาปิด ก็วางคว่ำลงหากยังไม่ต้องการใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นที่วางไข่ของยุงลาย

 ; ;  เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้สดบ่อยๆ อย่างน้อยทุกๆ 7 วัน

 ; ;  ปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะเก็บน้ำ เช่น โอ่ง ตุ่ม ภาชนะละ 2-4 ตัว รวมถึงอ่างบัวและตู้ปลาก็ควรมีปลากินลูกน้ำเพื่อคอยควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลายเช่นกัน

 ; ;  ใส่เกลือลงน้ำในจานรองขาตู้กับข้าว เพื่อควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยใส่เกลือ 2 ช้อนชา ต่อความจุ 250 มิลลิลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้ำได้นานกว่า 7 วัน

2. การป้องกันทางเคมี ได้แก่

 ; ;  เติมทรายทีมีฟอส ซึ่งเป็นสารเคมีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย เหมาะสมกับภาชนะที่ไม่สามารถใส่ปลากินลูกน้ำได้

 ; ;  การพ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย มีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ มีราคาแพง และเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีดพ่นและฉีดเฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพื่อป้องกันความเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ควรเลือกฉีดในเวลาที่มีคนอยู่น้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น

 ; ;  การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดยุงในบ้านเรือน ที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง โดยสารออกฤทธิ์อาจเป็นยาในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), ดีท (DEET, diethyltoluamide) เป็นต้น เมื่อก่อนมียาฆ่ายุงด้วย มีชื่อว่า ดีดีที แต่สารนี้ถูกยกเลิกการใช้ไปแล้วเนื่องจากเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลานานมาก อย่างไรก็ตาม สารเคมีไม่ว่าจากยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง ก็มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์ ดังนั้นเพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นห้ามฉีดลงบนผิวหนัง และควรปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุข้างกระป๋องอย่างเคร่งครัด

3. การปฏิบัติตัว ได้แก่

 ; ;  นอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน

 ; ;  หากไม่สามารถนอนในมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดได้ ควรใช้ยากันยุงชนิดทาผิวซึ่งมีสารสำคัญที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันตะไคร้หอม (oil of citronella), น้ำมันยูคาลิปตัส (oil of eucalyptus) ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่ามาทาหรือหยดใส่ผิวหนังใช้เป็นยากันยุง แต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่า DEET