การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด

 

 

พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิสภาพที่ basal ganglia บริเวณ substantia nigra ทำให้มีการผลิตสารสื่อประสาทที่ชื่อ สารโดปามีนน้อยลง ส่งผลให้สมองสูญเสียการควบคุมการสั่งงานของกล้ามเนื้อ  ตัวอย่างคนดังที่ทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคนี้  เช่น ไมเคิล เจ. ฟอกซ์ และ มูฮัมหมัด อาลี

มีผู้ทำการวิจัยหลายคนเชื่อว่าสาเหตุอาจเกิดความเครียด  สารพิษในร่างกาย  พันธุกรรม  และความเสื่อมตามวัย

สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1.      Idiopathic Parkinsonism

2.      Symptomatic Parkinsonism

อาการแสดงเริ่มต้นของผู้ป่วยพาร์กินสันที่ควรสังเกตคือ

-          ลุกขึ้นยืนลำบาก

-          เดินลากเท้าหรือมีการสะดุดบ่อยในขณะเดิน

-          การเคลื่อนไหวของมือช้าลง

-          ใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานกว่าปกติ  เช่น อาบน้ำ แต่งตัว

-          แสดงอาการสั่นของมือ  โดยเฉพาะเมื่อมีความเครียด

-          การเขียนที่แย่ลง  เช่น  เขียนตัวอักษรเล็กลง

-          มีอาการเสียงแหบ

-          มีปัญหานอนไม่หลับ  หรือบางรายมีอาการฝันร้าย

-          บางรายมีอาการเวียนศีรษะ  ท้องผูก  ผิวหนังอักเสบ  การรับกลิ่นไม่ดี  แขนขาอ่อนแรง  ไม่มีแรง (ความตึงตัวกล้ามเนื้อต่ำ)

-          เหงื่อออกมาก  ปัญหาการกลั้นปัสสาวะ  บุคลิกภาพเปลี่ยนไป  คิดช้า ความจำไม่ดี  สมาธิสั้น  บางรายมีอาการซึมเศร้า

 

 

ลักษณะอาการในระยะแรกที่ชัดเจนในผู้ป่วยพาร์กินสัน  คือปัญหาด้าน motor ดังนี้

-          akinesia ( มีปัญหาในการเริ่มการเคลื่อนไหว)

-          bradykinesia ( การเคลื่อนไหวช้า)

-          muscle rigidity ( กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง)

-          resting tremor ( มีอาการสั่น)

-          abnormalities of posture, gait, and balance (มีลักษณะการเดินที่ช้าลง  ไหล่งุ้ม และล้มง่าย)

อาการอื่นๆที่พบคือ

-          การเขียนตัวอักษรเล็กลง

-          มีปัญหาด้านการพูด แบบ dysarthria

-          ขณะเดินมีการแกว่งแขนน้อยลง

-          เดินแบบก้าวสั้นๆ และโน้มตัวไปก่อนที่จะก้าวขา  ที่เรียกว่า shuffling gait

-          ไม่ค่อยกระพริบตา  มีอาการตาแห้ง

-          มีอาการเครียด  วิตกกังวล

-          มีปัญหานอนไม่หลับและมีความดันโลหิตลดลง

-          ท้องผูก

-          ผิวหนังมีปัญหา  เช่น รังแค  หรือผิวมันผิดปกติ

-          เกิดอาการความดันตกในขณะเปลี่ยนท่า  ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการล้ม

-          การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายผิดปกติ

-          สูญเสียการควบคุมระบบขับถ่าย

-          มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการรับความรู้สึก  เช่น มีอาการปวด  ชา ปวดแสบร้อน  ปวดศีรษะ  ปวดหลังโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

  

ผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน

ยากลุ่ม levodopa 

1.  อาการคลื่นไส้  อาเจียน  และเบื่ออาหาร

2.  ผู้ที่กินยาเป็นเวลานานอาจพบอาการ dyskinesias (การเคลื่อนไหวที่ควบคุมไม่ได้)

3.  อาการปากแห้ง  ฝันร้าย  นอนไม่หลับ อาการวูบคล้ายเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่า

4. สับสนและเกิดภาพหลอน

ยากลุ่ม dopamine agonists

1.      อาการคลื่นไส้  อาเจียน  และเบื่ออาหาร

2.      สับสนและเกิดภาพหลอน

3.      อาการวูบคล้ายเป็นลมเมื่อเปลี่ยนท่า

4.      บางรายอาจพบ fibrosis

5.      บางรายมีอาการบวมของขา  หายใจตื้น

ถ้าสังเกตพบอาการแทรกซ้อนดังกล่าวควรรายงานแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษา

บทบาทนักกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

1.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินระยะของโรค (stage of the disease)

2. ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา

- musculoskeletal problem

- cardiopulmonary decondition

- psycho-social deteriorate

3. พยายามพัฒนาการเคลื่อนไหวให้มีคุณภาพ  โดยใช้วิธีการออกกำลังกายซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเคลื่อนไหว ร่างกายในชีวิต ประจำวันได้ดีขึ้น 

4. ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติตนให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล

5. ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย  ควรสอนวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อน

เทคนิคการรักษาควรประกอบด้วย

-          การยืดกล้ามเนื้อ (stretching)

-          พัฒนาการทำงานของปอดและหัวใจ เช่น การฝึก breathing exercise  , aerobic exercise

-          สอนการเดินที่มั่นคง  ถูกท่าและถูกจังหวะ

-          สอนการป้องกันการล้ม (fall prevention)  การหมุนตัวอย่างเป็นจังหวะขณะเดินหรือการหันหลังกลับ

-          สอนการผ่อนคลายเพื่อลดความเครียด

1. ประโยชน์ของการยืดกล้ามเนื้อ

-          ทำให้ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

-          ทำให้มีท่าทางที่ดีและถูกต้อง

-          สามารถป้องกันการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการหดรั้งและความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ

-          ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

-          ลดความตึงของกล้ามเนื้อ

2. การเพิ่มกำลังหรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

      ควรเน้นให้เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ตรงกับการทำกิจกรรมและสอดคล้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อ ทั้งแบบ concentric และ eccentric contraction  เช่น กล้ามเนื้อที่สำคัญ  คือ quadriceps , gluteus maximus , back extensors

3. การออกกำลังกายแบบ aerobic exercise

-          ควรออกกำลังกายแบบ aerobic อย่างน้อย 20นาที  สัปดาห์ละ 3 วัน  โดยมีช่วงอบอุ่นร่างกาย 3-5 นาทีแรก แล้วออกกำลังกายต่อเนื่องจากนั้นมีช่วงผ่อนการออกกำลังกายให้เบาลงอีก 3-5 นาที

-          การออกกำลังกายควรใส่รองเท้าเพื่อลดแรงกระแทก 

-          ความหนักในการออกกำลังกาย  อาจใช้ The Borg Rating Scale ระดับ somewhat hard หมายความว่าขณะออกกำลังกายยังสามารถพูดคุยได้  ไม่ถึงขั้นเหนื่อยหอบเกินไป

4.  การพัฒนาการเคลื่อนไหวมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

-          ความมั่นคงของร่างกาย (ท่าทางและการทรงตัว)  ควรฝึกท่านั่งที่ดีอาจใช้หมอนรองหลังบริเวณเอวเพื่อปรับให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ถูกต้อง

-          การเคลื่อนย้ายตำแหน่ง (การเดิน) กรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการทรงตัว  การให้ผู้ป่วยใช้ไม้เท้าหรือ walker ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะไม่ล้ม ทั้งนี้ขึ้นกับผู้ใช้  ถ้าใช้ไม่ถูกไม่เป็นก็ล้มได้เช่นกัน  เหมือนคนขับรถไม่ดีการซื้อประกันรถยนต์ (ไม้เท้า หรือ walker )ไม่ได้ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ  ต้องขึ้นอยู่กับผู้ขับ

o      การฝึกเดิน ควรใช้การมองและการฟังเสียงช่วยในการเดินให้ถูกจังหวะ เช่นใช้ที่เคาะจังหวะให้ผู้ป่วยก้าวเท้าให้เร็วขึ้น

o      การฝึกบนลู่วิ่งให้เดินเร็ว ให้ใกล้เคียงจังหวะปกติ

o      ฝึกการหันหรือหมุนตัวเมื่อมีคนเรียกทางด้านหลังและฝึกวิธีการป้องกันการล้ม

-          การใช้มือและแขนในการทำกิจกรรม ฝึกการหยิบสิ่งของขนาดต่างๆกัน

  

การพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน

1.      รักษาตามอาการ

2.      ผ่อนคลายความเครียด

3.      ดูแลเรื่องอาหาร

4.      ออกกำลังกาย

-  stetching

- strengthening

- aerobic exercise

                                                    ที่มา    อาจารย์วิยะดา  ศักดิ์ศรี  ,   รองศาสตราจารย์ชนัตถ์  อาคมานนท์

 

 

 

BLOG COMMENTS POWERED BY DISQUS